ขั้นตอนแรกในการดูแลผิวให้ห่างไกลไร้สิวคงหนีไม่พ้นการล้างหน้าอย่างสะอาดหมดจดล้ำลึก และแน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการล้างหน้า คือ โฟมล้างหน้าลดสิว แต่การใช้โฟมล้างหน้าลดสิวแตกต่างไปจากการใช้โฟมล้างหน้าหรือเปล่านะ
โฟมล้างหน้าลดสิว คืออะไร
โฟมล้างหน้าลดสิว เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวขั้นเริ่มแรกที่มีคุณสมบัติในการช่วยทำความสะอาดผิวอย่าล้ำลึก และช่วยขจัดคราบสิ่งสกปรก คราบเครื่องสำอาง ฝุ่น และมลภาวะต่าง ๆ ที่ผิวต้องเผชิญระหว่างวัน
ปัจจุบันโฟมล้างหน้าลดสิวได้ถูกคิดค้นออกมาในหลากหลายเนื้อสัมผัส โดยเนื้อสัมผัสของโฟมล้างหน้าลดสิวนั้นถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อความต้องการผิวที่แตกต่างกันออกไป
- โฟมล้างหน้าลดสิวเนื้อโฟม ลักษณะของเนื้อผลิตภัณฑ์จะเป็นโฟมและมีฟองมาก โฟมล้างหน้าลดสิวนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวมัน ผิวเป็นสิว มีคุณสมบัติในการซึมลงสู่ผิวได้อย่างล้ำลึก และช่วยทำความสะอาดผิวได้อย่างหมดจด
- โฟมล้างหน้าลดสิวเนื้อครีม เป็นโฟมล้างหน้าที่ถูกคิดค้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาผิวแห้งที่เกิดจากการใช้โฟมล้างหน้าเนื้อโฟม เนื่องจากฟองโฟมนั้นอาจทำให้ผิวแห้งตึงได้ ใครที่ประสบปัญหาผิวแห้ง บอบบาง แพ้ง่าย จึงเหมาะกับการใช้ผลิตภัณฑ์เนื้อครีมมากกว่า
- โฟมล้างหน้าลดสิวเนื้อเจล มีความคล้ายคลึงกับโฟมล้างหน้าเนื้อโฟม เนื่องจากเมื่อผสมน้ำแล้วจะเกิดฟองเหมือนกัน แถมยังเหมาะกับผู้ที่มีปัญหาผิวมัน เป็นสิว แต่ยังช่วยคงความชุ่มชิ้น ไม่ทำให้ผิวแห้งตึงเหมือนโฟมล้างหน้าทั่วไป
ดูโฟมรักษาสิวที่ดีที่สุดที่สามารถหาซื้อได้ในหน้ารีวิวของเรา
การใช้โฟมล้างหน้าอย่างถูกต้อง
ก่อนที่จะไปเรียนรู้วิธีใช้โฟมล้างหน้าลดสิวนั้น หลาย ๆ คนอาจจะมีคำถามที่ว่า “โฟมล้างหน้าลดสิว สามารถใช้ได้ทุกวัน ทั้งตอนเช้าและตอนเย็นเลยหรือไม่?” คำตอบก็คือ ต้องดูที่ส่วนผสมและความเข้มข้นที่ออกฤทธิ์ต่อผิว เนื่องจากโฟมล้างหน้ากำจัดสิวบางยี่ห้อใส่สารที่ออกฤทธิ์ต่อสิวแต่มีผลข้างเคียงทำให้ผิวบางหรือไวต่อแดด จึงอาจไม่เหมาะกับการใช้ในตอนเช้า แต่สามารถใช้ได้ในการล้างหน้าก่อนเข้านอน แต่สำหรับโฟมล้างหน้าลดสิวบางตัวก็สามารถใช้ได้ทั้งในตอนเช้าและตอนก่อนเข้านอน แนะนำให้อ่านฉลากก่อนใช้งานทุกครั้ง
สำหรับขั้นตอนการล้างหน้าโดยทั่ว ๆ ไปที่ใคร ๆ ต่างก็รู้ (หรือหากบางคนที่ยังไม่รู้ก็สามารถนำไปใช้ได้) มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- ขจัดน้ำมัน สิ่งสกปรก คราบเครื่องสำอางและเหงื่อส่วนเกินออกก่อนล้างหน้า จะสามารถช่วยป้องกันสิวได้ แต่การล้างหน้ามากเกินไปอาจทำให้ปัญหาสิวแย่ลงได้เช่นเดียวกัน
- ล้างหน้าด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ผิวไม่แห้งจากความร้อน หรือระคายเคืองจากความเย็นที่มากจนเกินไป
- ใช้นิ้วมือลูบไล้เป็นวงกลมอย่างอ่อนโยน ไม่ใช่ผ้าขนหนูขัดผิวโดยตรง เพราะเป็นการขัดผิวที่รุนแรง อาจทำให้ผิวอักเสบและอาการจากสิวแย่ลงได้
- ล้างน้ำออกให้สะอาด
- เช็ดหน้าให้แห้ง
แต่สำหรับการล้างหน้าคนเป็นสิวอาจมีความซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย
- สำหรับครีมรักษาสิวที่ดีที่สุดโปรดดูที่หน้าอื่นของเรา
ก่อนล้างหน้า
- ตรวจสอบการแพ้
มาเริ่มกันตั้งแต่การเลือกซื้อโฟมล้างหน้าเพื่อจุดประสงค์ในการลดสิวโดยเฉพาะกันก่อนดีกว่า โดยที่ก่อนใช้โฟมล้างหน้าลดสิวครั้งแรก ให้ตรวจสอบว่าแพ้ผลิตภัณฑ์หรือไม่ โดยการแต้มเป็นจุดเล็ก ๆ ในบริเวณที่เป็นเป็นเวลา 2-3 วัน หากมีอาการแพ้ ให้หยุดใช้ผลิตภัณฑ์นี้และปรึกษาแพทย์ทันที
- เช็ดเครื่องสำอางออกให้หมดจด
ก่อนล้างหน้าด้วยโฟมล้างหน้าทุกครั้ง แนะนำให้เช็ดทำความสะอาดเครื่องสำอางออกจากผิวอย่างหมดจดด้วยคลีนซิ่งออยหรือผลิตภัณฑ์เช็ดเครื่องสำอางที่เหมาะกับสภาพผิว ใครที่ไม่ได้แต่งหน้าก็แนะนำให้ใช้หากทาครีมกันแดด เพื่อป้องกันการล้างหน้าไม่สะอาดพอ และอาจทำให้เกิดการอุดตันในรูขุมขนได้
ระหว่างล้างหน้า
- เขย่าก่อนใช้
โฟมล้างหน้าที่มีเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นน้ำเหลว ๆ บางชนิดอาจจะต้องเขย่าก่อนใช้เพื่อให้สารและส่วนประกอบต่าง ๆ ผสมรวมเข้าหากัน
- ล้างหน้าตามปกติ แต่ทิ้งไว้สัก 1-2 นาที
การใช้โฟมล้างหน้าลดสิวมีขั้นตอนที่คล้ายคลึงกับการใช้โฟมล้างหน้าโดยทั่ว ๆ ไป แต่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยวิธีใช้โฟมล้างหน้าลดสิวอย่างถูกต้อง คือ ค่อย ๆ ถูผลิตภัณฑ์ให้เข้าสู่ผิวเป็นเวลาประมาณ 10-20 วินาที จนเนื้อผลิตภัณฑ์เป็นฟองเต็มแล้วจึงล้างออกให้สะอาด จากนั้นปล่อยทิ้งไว้บนผิวสัก 1-2 นาที เพื่อให้สารที่มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรียสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ จากนั้นล้างออกด้วยน้ำเปล่า และเช็ดหน้าให้แห้งด้วยผ้าเช็ดหน้าที่สะอาด นุ่ม
หลังล้างหน้า
- ตรวจเช็คสภาพผิว
หมั่นสังเกตว่าผิวมีรอยแดง รอยจ้ำ หรือมีอาการแสบแม้เพียงเล็กน้อยหรือไม่ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ามีอาการแพ้โฟมล้างหน้าที่ใช้อยู่ หากสังเกตเห็นจะได้หยุดใช้ก่อนสภาพผิวแพ้หนักมากกว่าเดิม
- บำรุงผิวในขั้นตอนต่อไป
หากผิวไม่มีรอยแดงหรืออาการแสบใด ๆ ก็สามารถลงผลิตภัณฑ์ดูแลผิวขั้นตอนต่อไปได้เลย
- ดูโทนเนอร์รักษาสิวที่ดีที่สุดที่จะซื้อในปีนี้
แหล่งที่มา: webmd, healthline