หากจะพูดถึงหนึ่งในอุปกรณ์เสริมสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ หูฟังถือว่าเป็นอุปกรณ์เสริมที่ขาดไม่ได้ แต่ปัญหาก็คือ หูฟังนั้นมีหลากหลายประเภท หลากหลายรูปแบบให้เลือก และหูฟังมอนิเตอร์ก็เป็นหูฟังประเภทที่หลาย ๆ คนตามหา เพราะมอบคุณภาพเสียงที่ยอดเยี่ยม และสามารถใช้งานที่ต้องการความเป็นมืออาชีพได้อีกด้วย
หูฟังมอนิเตอร์ใช้ทำอะไร
หูฟังมอนิเตอร์ คือ หูฟังที่ใช้เพื่อตรวจสอบความผิดเพี้ยนของเสียง จึงเหมาะสำหรับใช้ในวงการเพลง ดนตรี หรือการจัดงานคอนเสิร์ตกลางแจ้ง แต่นอกจากงานที่ต้องการความเป็นมืออาชีพเหล่านี้แล้ว ยังสามารถใช้เพื่อฟังเพลงได้ดีอีกด้วย
รูปร่างของหูฟังมอนิเตอร์นั้นมีได้ทั้งแบบ in-ear และ over-ear โดยรูปลักษณ์เด่น ๆ ของหูฟัง monitor คือ ออกแบบมาให้ดูมีความเก๋ไก๋และดูมีความเท่ แต่เราจะแยกแยะหูฟังมอนิเตอร์และหูฟังธรรมดาอย่างไร?
หูฟังมอนิเตอร์มีความแตกต่างไปจากหูฟังธรรมดา 3 ประการ ดังนี้
1. ดีไซน์สวย สวมใส่ได้พอดีกับใบหู
หูฟังมอนิเตอร์นั้นอาจมีรูปร่างคล้าย ๆ กับหูฟังธรรมดาโดยทั่ว ๆ ไป แต่อาจมีการออกแบบมาให้ดูสวยเก๋หรือดูเท่กว่า อีกทั้งยังมีออพชั่นเสริมเพื่อการใช้งานต่าง ๆ อีกด้วย
หูฟังมอนิเตอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- หูฟังมอนิเตอร์ In-Ear Monitor (IEM) แบบ Universal Earplug
ถือว่าเป็นหูฟังมอนิเตอร์ที่สามารถถอดเปลี่ยนสายได้ ถูกออกแบบมาให้มีขนาดที่กะทัดรัด พอดี ไม่ใหญ่มาก จึงทำให้สามารถสวมใส่ได้พอดีกับรูหู
- หูฟังมอนิเตอร์ Custom IEM
เรียกได้ว่าเป็นหูฟังที่สามารถลดเสียงหรือตัดเสียงรบกวนจากภายนอกได้อย่างดีเยี่ยม เก็บรายละเอียดของเสียงได้ดีกว่าหูฟังแบบ IEM นอกจากนี้ หูฟังชนิดนี้มักจะถูกออกแบบและผลิตขึ้นมาเฉพาะเพื่อให้พอดีกับใบหูของผู้ใช้แต่ละคน
2. สำหรับใช้ในงานเสียงหรืองานเพลงที่ต้องการความเป็นมืออาชีพ
สำหรับการใช้งานในงานที่ต้องการคุณภาพเสียงที่คมชัด หรืองานที่ต้องการความเป็นมืออาชีพต่าง ๆ หูฟังมอนิเตอร์ถือว่าเป็นหูฟังที่ตอบโจทย์กับการใช้งานในด้านนี้มาก ๆ เนื่องจากถูกออกแบบมาให้สามารถตัดเสียงรบกวนรอบข้างได้ดี อีกทั้งยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบความผิดเพี้ยนของโทนเสียงได้ มีฟังก์ชั่นในการควบคุมความดังหรือความเบาเสียงของแต่ละคน จึงทำให้มีความสะดวกในการจัดการงานเสียงต่าง ๆ เรียกง่าย ๆ ก็คือสามารถมอนิเตอร์เสียงต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
3. ให้เสียงแบบ flat สามารถเก็บรายละเอียดของเสียงได้ดี
การมอบแนวเสียงแบบ flat นั้น ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้หูฟังมอนิเตอร์นั้นมีความแตกต่างไปจากหูฟังทั่ว ๆ ไป เพราะหูฟังมอนิเตอร์นั้นมีคุณสมบัติในการเก็บรายละเอียดของเสียงได้ดีกว่า อีกทั้งยังสามารถแยกเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดได้อย่างชัดเจน อีกทั้งโทนเสียงยังออกแบน ๆ ทำให้สามารถตอบสนองต่อความถี่ของเสียงในระดับต่าง ๆ ได้อย่างสมดุล จึงทำให้สามารถได้ยินเสียงที่หูฟังทั่ว ๆ ไปไม่สามารถฟังได้
ประเภทของหูฟังมอนิเตอร์
หูฟังมอนิเตอร์ที่นิยมใช้กันโดยทั่ว ๆ ไปนั้นมีอยู่ 4 ประเภท ดังนี้
1. หูฟังมอนิเตอร์แบบ in-ear
เป็นหูฟังในรูปแบบที่เป็นจุกยางใส่อุดเข้าไปในรูหู สามารถตัดเสียงรบกวนรอบข้างออกไปได้ดี หูฟังในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับใช้ในงานถ่ายทอดสด ซึ่งจะทำให้ได้ยินเสียงดนตรีของตัวเองได้อย่างชัดเจน และไม่ทำให้หนักหูมากจนเกินไปขณะทำงานหรือทำการแสดงอยู่ด้วย
2. หูฟังมอนิเตอร์แบบ Closed-Back
เป็นหูฟังแบบครอบหู สามารถสวมใส่ได้ง่าย ไม่ทำให้เจ็บหู สามารถตัดเสียบรบกวนรอบข้างได้ดีและสามารถอุดเสียงรั่วจากหูฟังได้ดี หูฟังในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับใช้ทั้งในงานถ่ายทอดสดหรืองานแสดงคอนเสิร์ต สามารถใช้มิกซ์เสียงก็ได้ มอนิเตอร์เสียงในการอัดเพลงก็ดีอีกด้วย
3. หูฟังมอนิเตอร์แบบ Open-Back
เป็นหูฟังแบบเปิดหูแบบตะแกรงโล่ง ๆ มีจุดเด่นอยู่ที่ผู้ใช้ยังคงได้ยินเสียงจากรอบข้างอยู่ ทำให้เวลาเราฟังเสียงหรือทำงานมิกซ์เสียงจะไม่เมื่อยหู แต่หูฟังชนิดนี้ก็มีข้อจำกัดอยู่ตรงที่เบสอาจจะไม่แน่นเท่าไหร่นัก อีกทั้งยังอาจไม่เหมาะกับงานอัดเสียง เพราะอาจทำให้เสียงจากหูฟังเข้าไปในตัวไมโครโฟนได้
4. หูฟังมอนิเตอร์แบบ Semi-Open Back
หูฟังชนิดนี้มีลักษณะที่คล้ายคลึงกับหูฟังแบบ open-back เหมาะสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการใช้หูฟังที่มีคุณสมบัติอยู่ตรงกลางระหว่างหูฟังแบบ close-back และ open-back ทำให้เมื่อใช้งานไปสักระยะหนึ่งแล้วไม่รู้สึกล้าหู และยังคงได้ยินเสียงจากภายนอกอยู่ แต่เสียงจะไม่รั่วออกมาเท่ากับหูฟังแบบ open-back
ราคาหูฟังมอนิเตอร์
ราคาของหูฟังมอนิเตอร์นั้นอาจมีราคาสูงกว่าหูฟังโดยทั่ว ๆ ไป โดยราคาเริ่มต้นของหูฟังมอนิเตอร์นั้นจะเริ่มต้รที่ 4,000 บาทไปจนถึง 10,000 บาท แต่สำหรับหูฟังมอนิเตอร์ชนิด Custom IEM นั้นเรียกได้ว่าแพงขึ้นไปอีก โดยราคาอาจจะเร่ิมต้นกันที่หลักหมื่นต้น ๆ กันเลยทีเดียว และบางรุ่นอาจจะมีราคาสูงถึง 50,000 บาทปลาย ๆ ถือว่าเป็นราคาที่ทิ้งห่างกันหลายช่วงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับหูฟังธรรมดา
เนื้อหาหูฟังเพิ่มเติม: