ProReview เป็นแพลตฟอร์มที่รองรับการใช้งานของผู้อ่าน เมื่อคุณซื้อสินค้าหรือบริการผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นจากพันธมิตร อ่านเพิ่มเติม
ไมโครโฟนสตรีมมิ่งที่ดีที่สุดในปี 2022
Pro Review » อิเล็กทรอนิกส์ » รีวิว 8 ไมค์สตรีม ตัวไหนดี ปี 2023

รีวิว 8 ไมค์สตรีม ตัวไหนดี ปี 2023

สัมผัสการสตรีมสดแบบมืออาชีพด้วยหนึ่งในสุดยอดไมโครโฟนสำหรับการสตรีมที่ดีที่สุด จากการทดสอบของเรา

ไม่ว่าคุณจะสตรีมแบบสดเพื่อความสนุกสนานหรือต้องการจะทำแบบมืออาชีพ ไมโครโฟนสำหรับการสตรีมที่ดีสักตัวหนึ่งสามารถปรับปรุงมูลค่าชิ้นงานของคุณได้อย่างมาก บางคนอาจเลือกใช้อุปกรณ์ที่ทำงานได้หลายอย่างแทนการซื้อไมโครโฟนอย่างเดียว เช่น ชุดหูฟังสำหรับเล่นเกมที่ดีที่สุดสักตัวหนึ่งแทน แต่ไมโครโฟนแบบบูมขนาดเล็กพวกนั้นจะบันทึกเสียงได้ไม่ดีเท่าไมโครโฟนโดยเฉพาะ

คุณควรเลือกไมโครโฟนสตรีมมิงแบบไหน? การสตรีมเป็นทั้งกิจกรรมยามว่างและอาชีพที่ทำเงินได้ ทำให้ตลาดไมโครโฟนมีการเติบโตเช่นเดียวกัน จน มีให้เลือกหลากหลายในทุกระดับราคาที่ต้องการ

เพื่อเป็นประหยัดเวลา ลองศึกษารายชื่อสุดยอดไมโครโฟนสตรีมมิ่งที่ดีที่สุดที่เราได้ทดสอบ ซึ่งต่างกับสุดยอดไมโครโฟนที่ดีที่สุดแบบทั่วไป เพราะไมโครโฟนในรีวิวนี้ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสตรีมแบบสดโดยเฉพาะ

หากคุณกำลังคิดที่จะสตรีมเป็นงานอดิเรกใหม่ หรือสตรีมเพื่อหาอะไรใหม่ ๆ ทำในวันหยุด หรืออาจแค่ต้องการอัพเกรดอุปกรณ์ที่มี คุณก็จะพบไมโครโฟนรุ่นที่ดีที่สุดในรีวิวด้านล่างนี้

ทั้งนี้ต้องอย่าลืมว่าคุณควรจะมีอุปกรณ์อื่น ๆ มาประกอบด้วย เช่น หูฟังที่ดีที่สุด แล็ปท็อปที่ดีที่สุด และคู่มือเว็บแคมที่ดีที่สุดของเรา เริ่มก่อนได้เปรียบ แล้วยังจะได้ของมาในราคาที่ถูกกว่าด้วย

ไมค์สตรีมที่ดีที่สุดคือรุ่นไหน

ไมโครโฟนสตรีมมิ่งที่ดีที่สุดคือรุ่นไหน

Blue Yeti เป็นสุดยอดไมโครโฟนสำหรับการสตรีมที่ดีที่สุด ด้วยเหตุผล 3 ข้อ คือ การบันทึกเสียงที่ชัดเจน การใช้งานง่าย และราคาที่ย่อมเยา

เรายังชอบ JLab Talk มากด้วยเหตุผลเดียวกัน อาจไม่ได้มีคุณภาพระดับเดียวกันกับ Blue Yeti และไม่ได้ทำมาเพื่อใช้ในสตูดิโอ แต่มีราคามันถูกกว่า ซึ่งคุณภาพเสียงและฟีเจอร์ต่าง ๆ ก็สูสีกัน อีกรุ่นที่น่าสนใจคือ Blue Yeti X เป็นอีกตัวเลือกระดับไฮเอนด์ที่ควบคุมได้มากกว่า (แต่ Yeti รุ่นมาตรฐานจะมีราคาคุ้มค่าที่สุด)

หากคุณต้องการไมโครโฟนที่ออกแบบมาเพื่อการสตรีมโดยเฉพาะ แนะนำ Elgato Wave:3 ไมค์เดสก์ท็อปที่ให้เสียงที่ลื่นไหลและดูดี ผสานเข้ากับ Elgato Stream Deck ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการควบคุมที่ได้รับความนิยมจากเหล่าสตรีมเมอร์ ว่ากำหนดค่าได้อย่างรวดเร็วในทุกแง่มุมของการออกอากาศ

 

ไมค์สตรีมที่ดีที่สุดที่คุณสามารถซื้อแล้วได้วันนี้

1. Blue Yeti

Blue Yeti

ราคาวันนี้ - Lazada ราคาวันนี้ - Shopee

ไมโครโฟนสตรีมมิ่งที่ดีที่สุดโดยรวม

ประเภทไมค์: Condenser | รูปแบบเสียง: แบบ 2 ทิศทาง, Cardioid, รอบทิศทาง, สเตอริโอ | ขนาด: 11.6 x 4.9 x 4.7 นิ้ว | ประเภทการเชื่อมต่อ: USB

จะเป็นรุ่นไหนได้อีก นอกจาก Blue Yeti อันเป็นที่รักตลอดกาล การผสมผสานประสิทธิภาพระดับชั้นนำเข้ากับการออกแบบที่เรียบง่ายและใช้งานง่าย ทำให้ไม่รู้เลยว่า Yeti รุ่นนี้ออกวางจำหน่ายมานานแล้ว ราคาไม่แพงเกินไป ทำให้มันเหมาะทั้งกับคนที่เพิ่งซื้อไมโครโฟนครั้งแรกและสตรีมเมอร์ที่ช่ำชองได้

นอกเหนือจากโหมด cardioid ซึ่งเป็นรูปแบบเสียงที่ควรใช้ เมื่อคุณบันทึกเสียงตัวเองคนเดียวแล้ว Blue Yeti ยังมีรูปแบบการบันทึกแบบ 2 ทิศทาง รอบทิศทาง และแบบสเตอริโอ ซึ่งจะทำให้มันมีความยืดหยุ่น ทำงานได้หลากหลาย สามารถทำได้ทั้งบันทึกรายการสดหรือสัมภาษณ์สดในรายการพอดคาสต์ มากกว่าแค่การเล่นเกม หรือไลฟสตรีม

จุดเด่นของรุ่นนี้:

  • คุณภาพเสียงที่ยอดเยี่ยม
  • ราคาจับต้องได้
  • ความกว้างของโหมด

จุดด้อยของรุ่นนี้:

  • ขาตั้งแบบพื้นฐาน

 

2. JLab Talk

Jlab Talk

ราคาวันนี้ - Lazada ราคาวันนี้ - Shopee

สุดยอดไมโครโฟนสตรีมมิ่งในด้านความคุ้มค่า

ประเภทไมค์: Condenser | รูปแบบเสียง: แบบ 2 ทิศทาง, Cardioid, รอบทิศทาง, สเตอริโอ | ขนาด: 9.9 x 7.6 x 7.6 นิ้ว (พร้อมขาตั้งขยายได้) | ประเภทการเชื่อมต่อ: USB

อาจพูดได้ว่า JLab Talk ก็คือ Blue Yeti ที่ราคาถูกกว่า แต่ก็ไม่ได้เหมือนกันไปเสียทุกอย่าง Talk เป็นไมโครโฟน USB ที่ค่อนข้างกะทัดรัด มีรูปแบบการบันทึก 4 แบบเหมือนกับ Yeti ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดี คุณภาพการบันทึกหนักแน่น เสียงทุ้มของรุ่นนี้ทำให้รู้สึกได้ถึงความเป็นมืออาชีพในการสตรีมของคุณอย่างแน่นอน

Talk สามารถใช้งานได้จริงจนเราประทับใจ ด้วยไฟ gain นำทางที่สว่างขึ้น ช่องเสียบ 3.5 มม. สำหรับมอนิเตอร์เสียงไมโครโฟน และขาตั้งขาตั้งกล้องแบบปรับได้ แม้ว่าไมโครโฟนสำหรับการสตรีมรุ่นอื่นอาจดีกว่าเพราะมีแขนจับไมค์บูมมาด้วย แต่อย่างน้อยขาตั้งกล้องขนาดเล็กของรุ่นนี้ก็สามารถปรับได้หลายมุม

จุดเด่นของรุ่นนี้:

  • เสียงที่เต็มอิ่ม
  • ราคาไม่แพง
  • ขาตั้งแบบปรับได้

จุดด้อยของรุ่นนี้:

  • อัดติดเสียงรบกวนรอบข้าง
  • โหมด 2 ทิศทางไม่น่าประทับใจเท่าไหร่

 

3. Elgato Wave: 3

Elgato Wave 3

ราคาวันนี้ - Lazada ราคาวันนี้ - Shopee

ไมโครโฟนสตรีมมิ่งที่ดีที่สุดสำหรับการตั้งค่าขั้นสูง

ประเภทไมค์: Condenser | รูปแบบเสียง: Cardioid | ขนาด: 6.0 x 2.6 x 1.6 นิ้ว | ประเภทการเชื่อมต่อ: USB

เคล็ดลับของรุ่น The Wave: 3 คือการทำงานร่วมกันกับ Elgato Stream Deck เมื่อใช้งานคู่กัน คุณจะสามารถควบคุมระดับเสียงอินพุตไมโครโฟน ผสมเสียงที่อัดจาก Wave: 3 และแหล่งอื่น ๆ หรือสลับระหว่างการบันทึกเสียงได้เพียงกดปุ่ม ดังนั้นเมื่อต้องอัดเสียงทำรายการหรือทำสตรีมแนวบันเทิง การควบคุมนี้ก็จะยิ่งมีประโยชน์ขึ้น

แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มี Stream Deck ก็ตาม Wave: 3 ก็ยังเป็นไมโครโฟนที่ดีมาก คุณภาพการบันทึกอยู่ในระดับสูง สามารถตัดเสียงป๊อปและเสียงรบกวนรอบข้างได้ดีเป็นพิเศษ และคุณสามารถใช้การควบคุมที่มีมาให้เพื่อทำการปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน

จุดเด่นของรุ่นนี้:

  • การรวม Stream Deck
  • การควบคุมที่ใช้งานง่าย
  • การออกแบบที่เรียบง่ายแต่น่าดึงดูด

จุดด้อยของรุ่นนี้:

  • บันทึกเสียงเฉพาะแบบ cardioid
  • อัดติดเสียงรบกวนรอบข้างมาบ้าง

 

4. Blue Yeti X

Blue Yeti X

ราคาวันนี้ - Lazada ราคาวันนี้ - Shopee

สุดยอดไมโครโฟนสตรีมมิ่งระดับพรีเมียม

ประเภทไมค์: Condenser | รูปแบบเสียง: แบบ 2 ทิศทาง, Cardioid, รอบทิศทาง, สเตอริโอ | ขนาด: 11.4 x 4.3 x 4.8 นิ้ว | ประเภทการเชื่อมต่อ: USB

หากคุณมีงบเยอะ อาจจะคุ้มค่ากว่าถ้าจะเลือกซื้อ Blue Yeti X เพราะให้เสียงที่ดีกว่า Yeti มาตรฐานอย่างมาก และยังสามารถปรับเปลี่ยนการควบคุมได้ ตัวอย่างเช่น คุณสามารถตรวจสอบระดับเสียงของคุณได้อย่างรวดเร็วโดยใช้จอแสดงผล LED และ Blue ได้ย้ายสวิตช์ gain ไปไว้ที่ด้านหน้า ซึ่งจัดว่าฉลาดมาก จึงทำให้ปรับเปลี่ยนได้ง่ายยิ่งขึ้น

แม้จะมีความพิเศษหลายอย่างเพิ่มขึ้น แต่ Yeti X ก็ไม่ลืมเรื่องความเรียบง่ายที่ทำให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ Yeti เป็นแชมป์ของไมโครโฟนได้อย่างยาวนาน มีฟีเจอร์ plug-and play เพียงแค่เชื่อมต่อ USB เข้ากับพีซีเท่านั้น นี่จึงไม่ใช่ไมโครโฟนที่ใช้ในสตูดิโอที่ซับซ้อนเลย

จุดเด่นของรุ่นนี้:

  • คุณภาพเสียงแบบ Blue Yeti
  • การควบคุมขั้นสูง
  • ยืดหยุ่นแต่ไม่ซับซ้อน

จุดด้อยของรุ่นนี้:

  • ค่อนข้างแพง

 

5. HyperX QuadCast S

Hyperx Quadcast S

ราคาวันนี้ - Lazada ราคาวันนี้ - Shopee

สุดยอดไมโครโฟน RGB สำหรับการสตรีม

ประเภทไมค์: Condenser | รูปแบบเสียง: แบบ 2 ทิศทาง, Cardioid, รอบทิศทาง, สเตอริโอ | ขนาด: 10 x 5 x 5 นิ้ว | ประเภทการเชื่อมต่อ: USB

หากคุณกำลังจะเริ่มสตรีม คุณสามารถเพิ่มความวิบวับให้กับการสตรีม ด้วยอุปกรณ์ที่คุณอาจคาดไม่ถึง นั่นคือ ไมโครโฟนของคุณ HyperX QuadCast S มาพร้อมกับไฟ RGB ที่ปรับแต่งได้อย่างเต็มที่ ทำให้เข้ากันได้ดีกับอุปกรณ์ต่อพ่วงเกมและพีซีอื่น ๆ

โชคดีที่ QuadCast S ไม่ได้มีไว้สำหรับโชว์เท่านั้น เสียงบันทึกรูปแบบ cardioid นั้นใสและชัดเจนเพียงพอสำหรับสตรีมเมอร์ที่จริงจัง มีตัวกันกระแทกในตัว ช่วยป้องกันเสียงจากการกระเทือนที่น่ารำคาณ เมื่อคุณต้องเปลี่ยนตำแหน่งไมค์ ทั้งนี้ QuadCast S มีราคาสูงกว่า QuadCast รุ่นมาตราฐานที่ไม่มี RGB แต่ถ้าพิจารณษแค่ในแง่ของตัวเลือกที่มีแสงไฟ รุ่นนี้เป็นหนึ่งในไมโครโฟนที่เราชื่นชอบ

จุดเด่นของรุ่นนี้:

  • คุณภาพเสียงที่ดี
  • แสงที่ปรับแต่งได้
  • มี shock mount ในตัวและตัวกรองเสียงป๊อป

จุดด้อยของรุ่นนี้:

  • QuadCast รุ่นมาตรฐานมีราคาที่ถูกกว่า

 

6. Blue Yeti Nano

Blue Yeti Nano

ราคาวันนี้ - Lazada ราคาวันนี้ - Shopee

สุดยอดไมโครโฟนสตรีมมิ่งแบบพกพาที่สะดวกที่สุด

ประเภทไมค์: Condenser | รูปแบบเสียง: Cardioid รอบทิศทาง | ขนาด: 8.3 x 3.8 x 4.3 นิ้ว | ประเภทการเชื่อมต่อ: USB

อยากได้ Blue Yeti ที่ขนาดเล็กกว่าใช่ไหม รุ่นนี้ใช้ได้เลยล่ะ Blue Yeti Nano เป็นไมโครโฟนสำหรับการสตรีมที่ยอดเยี่ยม ตามสไตล์แบรนด์ Blue มีการติดตั้งและใช้งานง่ายอย่างเหลือเชื่อ และขนาดที่กะทัดรัดทำให้เหลือพื้นที่โต๊ะทำงานมากขึ้น และเหมาะมากสำหรับพกติดกระเป๋าและการเดินทางไปอัดเสียงนอกสถานที่

Nano ยังมีราคาถูกกว่า Blue Yeti รุ่นมาตรฐาน แม้ว่า JLab Talk จะดูน่าซื้อกว่า แต่เราอยากให้คุณพิจารณาดูว่ารุ่นไหนจะคุ้มว่ากัน นอกจากนี้ Blue Yeti Nano ลดรูปแบบการบันทึกที่รองรับลงเหลือเพียงรูปแบบ cardioid และรอบทิศทาง แต่ถ้าต้องบันทึกเสียงแค่เสียงคุณคนเดียว รูปแบบการบันทึกเสียงแบบ cardioid รูปแบบเดียวก็เพียงพอแล้ว

จุดเด่นของรุ่นนี้:

  • เสียงดีเยี่ยม
  • ออกแบบได้ดี
  • ราคาถูกกว่า Blue Yeti

จุดด้อยของรุ่นนี้:

  • ไม่มีโหมดสเตอริโอ
  • การควบคุมทำได้แบบทั่วไป

 

7. EPOS B20

Epos B20

ราคาวันนี้ - Lazada ราคาวันนี้ - Shopee

ไมโครโฟนสตรีมมิ่งประสิทธิภาพดี พร้อมซอฟต์แวร์บูสต์

ประเภทไมค์: Condenser | รูปแบบเสียง: แบบ 2 ทิศทาง, Cardioid, รอบทิศทาง, สเตอริโอ | ขนาด: 9.4 x 4.1 x 4.1 นิ้ว | ประเภทการเชื่อมต่อ: USB

EPOS B20 เป็นไมโครโฟนอีกตัวหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสตรีมมิ่งโดยเฉพาะ แต่ในขณะที่ Elgato Wave: 3 เลือกเติมเต็มศักยภาพด้วยฮาร์ดแวร์ที่เพิ่มเข้ามา ส่วน B20 นั้นทำงานได้ยอดเยี่ยมมากเมื่อจับคู่กับซอฟต์แวร์ EPOS Gaming Suite ซึ่งได้เพิ่มการเข้าถึงการตั้งค่าเสียงที่ปกติคุณจะไม่สามารถควบคุมได้จากไมโครโฟนเพียงอย่างเดียว

เราชอบความสวยงามที่โฉบเฉี่ยวและคุณภาพเสียงที่คมชัดของ B20 ถ้ามันราคาถูกกว่านี้ ก็จะทำให้ Blue Yeti ต้องหนาว แต่ถึงแม้จะขายในราคาปัจจุบัน ก็ยังคุ้มค่าที่จะลองถ้าคุณต้องการปรับแต่งเสียงสตรีมของคุณอย่างละเอียด (ผ่านซอฟต์แวร์ที่ใช้งานร่วม)

จุดเด่นของรุ่นนี้:

  • การออกแบบที่เฉียบคม
  • โครงสร้างโลหะแข็งแรง
  • การควบคุมที่หลากหลาย

จุดด้อยของรุ่นนี้:

  • ราคาสูง
  • ไม่มี gain/ตัวชี้ทิศทางเสียง
  • Blue Yeti ฟังดูน่าใช้งานกว่า

 

8. Movo UM700

Movo Um700

ราคาวันนี้ - Lazada ราคาวันนี้ - Shopee

สุดยอดไมโครโฟนสตรีมมิ่งสำหรับมือใหม่

ประเภทไมค์: Condenser | รูปแบบเสียง: แบบ 2 ทิศทาง, Cardioid, รอบทิศทาง, สเตอริโอ | ขนาด: 11.6 x 4.4 x 3.8 นิ้ว | ประเภทการเชื่อมต่อ: USB

ไม่แตกต่างจาก JLab Talk โดย UM700 ของ Movo พยายามที่จะตัดราคา Blue Yeti เหมือนกันสำหรับเราถือว่าประสบความสำเร็จ — UM700 นั้นราคาถูกกว่ามาก — และนั่นก็ไม่ทำให้คุณภาพตกไปมากนัก คุณจะได้รับโหมดการบันทึกแบบ cardioid แบบ 2 ทิศทาง รอบทิศทาง และแบบสเตอริโอครบชุดเช่นกัน

แต่คุณภาพเสียงยังไม่อยู่ในระดับเดียวกับ Yeti เท่าไหร่ ดังนั้นเราแนะนำให้เลือกซื้อ Yeti หากคุณต้องการให้สตรีมของคุณฟังดูเป็นมืออาชีพมากที่สุด ถึงอย่างนั้น UM700 ยังคงให้ความคมชัดมากเพียงพอสำหรับการสตรีมแบบชิล ๆ หรือสตรีมเมอร์มือใหม่ ดังนั้นมันจึงควรค่าแก่การพิจารณา ถ้าคุณต้องการไมโครโฟนดีดีที่ราคาจับต้องได้

จุดเด่นของรุ่นนี้:

  • ผลิตมาอย่างดี
  • ง่ายต่อการใช้
  • เสียงที่มีคุณภาพ

จุดด้อยของรุ่นนี้:

  • ไวต่อเสียงแรงกระแทก
  • Blue Yeti และ JLab Talk ดีกว่า

 

วิธีเลือกไมค์สตรีมที่เหมาะสำหรับคุณ

วิธีเลือกไมโครโฟนสตรีมมิ่งที่เหมาะสำหรับคุณ

สิ่งที่ควรพิจารณาหลัก ๆ ในการเลือกไมโครโฟนแบบเดสก์ท็อปควรเป็นเรื่องคุณภาพเสียง เพราะปัญหาอื่น เช่น รูปลักษณ์ที่ธรรมดาหรือขาตั้งที่ปรับได้ไม่ดี สามารถมองข้ามไป หรือหาตัวช่วยอื่นมาทดแทนได้ แต่ถ้าไมโครโฟนสำหรับการสตรีมให้เสียงที่ไม่ชัดหรือขาดรายละเอียด การสตรีมทั้งหมดของคุณก็จะได้รับผลกระทบไปด้วย อย่าลืมอ่านรีวิวแบบเต็มของเราที่ลิงก์ด้านบน ซึ่งเราได้อธิบายไว้ว่าไมโครโฟนแต่ละตัวมีเสียงอย่างไร

ไมโครโฟนจำนวนมากมีรูปแบบการบันทึกในทิศทางที่แตกต่างกัน แบบ cardiod แบบ 2 ทิศทาง รอบทิศทาง หรือแบบสเตอริโอ โหมด 2 ทิศทางหรือรอบทิศทางมีประโยชน์มากสำหรับการบันทึกเสียงคนพูดหลายคนด้วยไมโครโฟนตัวเดียว แต่ถ้าคุณจะใช้ไมโครโฟนเพื่อสตรีมเกมหรือสตรีมประเภทอื่น ๆ ที่มีคุณเพียงคนเดียว รูปแบบ cardiod คือสิ่งที่คุณต้องการ ซึ่งจะบันทึกเฉพาะพื้นที่ด้านหน้าไมโครโฟนโดยตรง จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการลดเสียงรบกวนรอบข้าง

สำหรับเรื่องราคา เราคิดว่าคุณไม่จำเป็นต้องจ่ายมากกว่า 6,500 บาท และไม่ควรน้อยกว่า 1,600 บาท  การใช้ไมโครโฟนเพื่อประชุม Zoom ไม่จำเป็นต้องใช้รุ่นที่มีราคาแพง แต่สำหรับการสตรีมที่มีคุณภาพ ถ้าซื้อของที่ราคาถูกเกินไปก็จะไม่ตอบโจทย์ เรียกได้ว่าเสียเงินฟรี

เราชอบไมโครโฟน USB เนื่องจากมันง่ายที่สุดในการติดตั้งบนพีซีหรือแล็ปท็อป คุณสามารถซื้อไมโครโฟนที่ใช้งานง่าย แต่มีการเชื่อมต่อแบบ XLR ของมืออาชีพก็ได้ แต่แบบนั้นต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมในการติดตั้งและมีราคาแพงด้วย ซึ่งสำหรับการสตรีม (ที่ต่างกับพอดแคสต์) ควรจะทุ่มงบไปที่ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์มากกว่าอุปกรณ์เสริมของไมค์

เราทดสอบไมค์สตรีมอย่างไร

ในการทดสอบไมโครโฟนทุกประเภท เราจะใช้การบันทึกและการโต้ตอบแบบสด ๆ แบบตัวต่อตัวเพื่อค้นหาว่าไมโครโฟนแต่ละตัวมีเสียงอย่างไร สำหรับไมโครโฟนเพื่อการสตรีม ลักษณะของเสียงในสภาวะที่จำเป็นของ VoIP (Voice over IP) มีความสำคัญเป็นพิเศษ เนื่องจากการบันทึกในเครื่องเพียงอย่างเดียว อาจไม่บันทึกว่าไมโครโฟนให้เสียงอย่างไรเมื่อเสียงถูกส่งทางออนไลน์

นอกจากการทดสอบไมโครโฟนแล้ว เรายังลองใช้ซอฟต์แวร์ที่แนะนำหรือที่แถมมาด้วย เพื่อดูว่าควรใช้ร่วมกับฮาร์ดแวร์หรือไม่ ตามหลักการแล้วไมโครโฟนควรทำงานได้ดีด้วยตัวมันเอง แต่บางครั้งแอปพลิเคชันเหล่านี้ก็มีความพิเศษที่เป็นประโยชน์ อาจทำให้การสตรีมของคุณมีเสียงดีขึ้นเล็กน้อย

  • กิตติพงษ์ โยธาภักดี
    นักเขียนเทคโนโลยี

    ณัฐ เป็นกูรูด้านเทคโนโลยีและไอทีประจำ Pro Review โดยอยู่ในวงการไอทีมานานกว่า 10 ปี โดยสร้างเนื้อหา ข่าวสาร และบทวิจารณ์สินค้าสำหรับเว็บไซต์เทคโนโลยีหลายแห่งในประเทศไทย จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เอกภาษาอังกฤษ ทำให้เขาติดตามข่าวสารเทคโนโลยีทั่วโลกและติดตามเทรนด์ใหม่ ๆ และข่าวล่าสุดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยประสบการณ์กว่า 10 ปีในการทดลองใช้สินค้าไอทีก่อนที่จะวางจำหน่าย ทำให้บทความของเขาเป็นอะไรที่ไม่ควรพลาด